top of page
รูปภาพนักเขียนPRIME BEAUTY SERVICE

Q&A คำถามที่พบบ่อย กรณีผ่าตัดขากรรไกร

อัปเดตเมื่อ 12 พ.ค. 2566

Q: หากอยู่ในช่วงจัดฟัน สามารถเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกรได้หรือไม่?

A: สำหรับการผ่าตัดขากรรไกรส่วนใหญ่ จะประกอบกับการจัดฟันควบคู่ไปด้วย ซึ่งจำเป็นจะต้องจัดฟันเพิ่มเติมหลังจากผ่าตัดแล้ว หากในปัจจุบันได้ทำการจัดฟันอยู่ และเป็นการจัดฟันเพื่อเตรียมการผ่าตัดขากรรไกร จะยิ่งทำให้ระยะเวลาจัดฟันหลังผ่าตัดใช้เวลาน้อยลง แต่ในทางตรงกันข้าม หากเป็นจัดฟันแบบทั่วไป แน่นอนว่าจำเป็นต้องจัดฟันสำหรับหลังผ่าตัดขากรรไกร

Q: หลังผ่าตัดขากรรไกรจะสามารถนำพิน หรือ หมุด ออกได้ตอนไหน?

A: สำหรับหมุดที่ใช้ในการผ่าตัดขากรรไกร จะใช้เพื่อยึดกระดูกกระดูกเอาไว้ จึงไม่จำเป็นต้องนำออกไป แต่สำหรับผู้ที่รู้สึกว่ามีโลหะอยู่ในร่างกาย หรือมีสิ่งแปลกปลอม และมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น กรณีนี้แนะนำให้นำออก

ซึ่งการที่จะนำหมุดออกนั้น ควรทำให้ช่วงที่กระดูกขากรรไกรบนและล่างอยู่ในสภาวะปลอดภัยแล้ว โดยเป็นช่วงเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัดขากรรไกร แต่หากหลังจากผ่าตัดครบ 1 ปีไปแล้ว จะนำหมุดออกได้ยาก จึงควรนำออกภายในช่วงเวลา 1 ปีหลังผ่าตัดขากรรไกร

Q: หลังจากผ่าตัดขากรรไกรจะสามารถอ้าปากได้เมื่อไหร่?

A: หลังจากผ่าตัดทันทีนั้นจะยาก แต่เมื่อพักฟื้นไปเรื่อยๆจะไม่มีปัญหาใดๆในการอ้าปาก ซึ่งช่วงหลังผ่าตัดสัปดาห์ที่ 2 จะสามารถอ้าปากได้ดีขึ้น เมื่อครบ 6 สัปดาห์แล้วจะสามารถอ้าปากได้ปกติเหมือนกับก่อนผ่าตัด

สำหรับการฝึกขยับปากควรเริ่มสัปดาห์ที่ 3 หลังผ่าตัดขากรรไกร โดยใช้มือทั้งสองข้างกุมบริเวณแก้ม จากนั้นค่อยๆเริ่มขยับปากให้อ้าออกช้าๆ หากรู้สึกเจ็บ ให้ทำการประคบเย็นเป็นระยะ จะช่วยทำให้ผ่อนคลายได้

Q: มีปัญหาเรื่องข้อต่อขากรรไกรไม่ค่อยดี จะสามารถผ่าตัดขากรรไกรได้หรือไม่?

A: โดยปกติแล้วเคสแถวฟันไม่สบกัน หรือ ใบหน้าเบี้ยวนั้น จะมีอาการคล้ายกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ สาเหตุที่ทำให้ข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนที่ มาจากการที่แถวฟันไม่สบกัน และพฤติกรรมความเคยชินผิดๆ เป็นต้น

ทุกครั้งที่ขยับปากจะมีเสียงออกมา และอาจมีความรู้สึกเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆได้ กรณีสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดขากรรไกร สำหรับกรณีที่ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ สามารถผ่าตัด เพื่อฟื้นฟูข้อต่อได้ ด้วยการทำให้ข้อต่อขากรรไกรขยับไปอยู่ในทิศทางและตำแหน่งที่ถูกต้อง

Q: หลังผ่าตัดขากรรไกร สามารถกิจกรรมต่างๆได้เมื่อไหร่?

A: หลังผ่าตัดจะยากต่อการขยับปาก หรือ อ้าปาก ภายในช่วง 2 สัปดาห์จึงควรทานอาหารอ่อนๆ สามารถรับประทานได้ เช่น เครื่องดื่ม, โจ๊ก, ซุป, ไข่ตุ๋น เป็นต้น เมื่อผ่าตัดครบ 4 สัปดาห์ สามารถรับประทานอาการปกติได้ ซึ่งในระยะพักฟื้นหากลองอ้าปากขึ้นทีละนิดแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ ก็จะสามารถรับประทานอาหารได้ แต่เนื่องจากไม่มีแรงที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ ช่วง 3-6 เดือนหลังผ่าตัดควรงดอาหารแข็งๆจะดีที่สุด

ลิขสิทธิ์ข้อมูลโดย www.oppame.com

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page